การศึกษาโดย สนข. ของ รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

จากการประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก หรือ สำนักงานโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ในปัจจุบัน เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ได้มีมติให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นผู้ออกแบบรายละเอียดของระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ ซึ่ง สนข. ได้ลงนามว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาให้ดำเนินการศึกษาออกแบบเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2547 มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาระบบรถโดยสารประจำทางให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะโดยเฉพาะรถโดยสารประจำทาง

จากการออกแบบโดย สนข. รูปแบบช่องทางเฉพาะรถโดยสารประจำทางจะก่อสร้างเป็นคันหินบริเวณขอบช่องทาง มีทั้งรูปแบบบนถนนที่มีเกาะกลาง ถนนที่ไม่มีเกาะกลาง และถนนที่เดินรถทางเดียว ส่วนการออกแบบสถานี มีรูปแบบเป็นระบบเปิด สถานีกว้าง 2.50 เมตร ยาว 20 เมตร กำหนดให้ใช้รูปแบบหลักเป็นสะพานลอยข้ามถนนไปยังสถานีกลางถนน เพื่อความสะดวกและความปลอดภัยของผู้โดยสาร โดยมีเครื่องจำหน่ายตั๋วและเครื่องตรวจสอบตั๋วบนสะพานลอย ทั้งนี้ บางกรณีอาจจำเป็นต้องใช้ทางข้ามแบบทางม้าลาย ซึ่งรูปแบบสถานีไม่แตกต่างกัน แต่จะมีเครื่องจำหน่ายตั๋วและเครื่องตรวจสอบตั๋วอยู่บริเวณและระดับเดียวกันกับอาคารสถานี[2]

แนวเส้นทาง

  • โครงการระยะที่ 1 รวมระยะทาง 73 กิโลเมตร[4] ดังนี้
  1. เมืองทองธานี-มีนบุรี : 26 กิโลเมตร
  2. บางกะปิ-สมุทรปราการ : 20 กิโลเมตร
  3. ตลิ่งชัน-สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า: 10 กิโลเมตร
  4. ดอนเมือง-หมอชิต: 17 กิโลเมตร
  • โครงการระยะที่ 2 มีแนวเส้นทางที่มีความเหมาะสมทั้งหมด 9 เส้นทาง รวมระยะทาง 379.72 กิโลเมตร จัดลำดับความสำคัญตามผลตอบแทนทางการเงิน[2] ดังนี้
  1. บางแค-รังสิต (ถนนเพชรเกษม-ราชพฤกษ์-สาทร-วิทยุ-เพลินจิต-สยาม-พระรามที่ 6-จตุจักร-ห้าแยกลาดพร้าว-วงเวียนบางเขน-สะพานใหม่-รังสิต): 56.80 กิโลเมตร
  2. สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง (ลาดกระบัง-อ่อนนุช-พัฒนาการ-คลองตัน-ประตูน้ำ-พระรามที่ 6-หมอชิต 2-วิภาวดีรังสิต): 52.57 กิโลเมตร
  3. เมืองทองธานี-คลองจั่น-สมุทรปราการ (แจ้งวัฒนะ-วงเวียนบางเขน-ห้าแยกลาดพร้าว-บางกะปิ-ศรีนครินทร์): 54.30 กิโลเมตร
  4. สุวินทวงศ์-ตลิ่งชัน (มีนบุรี-บางกะปิ-พระราม 9-เอกมัยเหนือ-ประตูน้ำ-นางเลิ้ง-ราชดำเนินนอก-ปิ่นเกล้า-กาญจนาภิเษก): 42.86 กิโลเมตร
  5. รามอินทรา กม.8-เพชรเกษม (นวมินทร์-บางกะปิ-พระราม 9-เอกมัยเหนือ-วิทยุ-สาทร-ราชพฤกษ์-บางหว้า): 35.87 กิโลเมตร
  6. พระสมุทรเจดีย์-สยามสแควร์ (พระประแดง-ตากสิน-สาทร-วิทยุ-ประตูน้ำ-สยาม-เพลินจิต-วิทยุ): 34.46 กิโลเมตร
  7. สถานีขนส่งสายใต้-เอกมัย (ปิ่นเกล้า-ราชดำเนินนอก-นางเลิ้ง-พงษ์พระราม-สยาม-สามย่าน-พระรามที่ 4-พระโขนง-กล้วยน้ำไท): 22.77 กิโลเมตร
  8. พระราม 2-รามอินทรา (กาญจนาภิเษก-ดาวคะนอง-ตากสิน-วังบูรพา-ราชดำเนินนอก-นางเลิ้ง-พระรามที่ 6-จตุจักร-ห้าแยกลาดพร้าว-วงเวียนบางเขน-มีนบุรี): 58.83 กิโลเมตร
  9. รังสิต-จตุจักร คร่อมคลองประปา (บางพูน-พงษ์เพชร-ประชาชื่น-เตาปูน-ถนนกำแพงเพชร-ตลาดนัดจตุจักร): 21.26 กิโลเมตร

ความคืบหน้า

จนถึงปัจจุบัน เส้นทางของ สนข. ทั้งหมดยังคงเป็นเพียงข้อเสนอแนะที่ไม่มีการพิจารณาให้สร้างขึ้นแต่อย่างใด

ใกล้เคียง

รถโดยสารประจำทางในประเทศไทย รถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร–ราชพฤกษ์ รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รถโดยสารประจำทางสาย 8 รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ รถโดยสารสองชั้น รถโดยสารประจำทาง รถโดยสารประจำทางในฮานอย รถโดยสารประจำทางนครพนมเปญ รถโดยสารประจำทางด่วน

แหล่งที่มา

WikiPedia: รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล http://www.bmanews.co.cc/bmanews/index.php/2008-11... http://www.bangkokbrt.com http://www.bangkokbrt.com/downloads/press17jan07.p... http://bangkokbrt.multiply.com/video/item/4/Bangko... http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_co... http://www.youtube.com/watch?v=A2wwwtEWGL4 http://www.logisticnews.net/modules.php?m=newsupda...